Block normal & Block choice
สมมุติว่า เราอยากทำ Block เพราะบางครั้งการทำ Block มันก็ให้ชิ้นงานนั้น ไม่ถูกแก้ไขด้วยความผิดพลาดได้ง่าย หรือบางที Block มันก็ก็อปปี้ไปใช้งานได้ง่ายกว่าเส้นที่กระจัดกระจาย งั้นวันนี้ผมก็จะเสนอวิธีทำบล็อกแบบง่ายๆ และแบบยากขึ้นมานิดนึงกันนะครับ
1. ตัวอย่างรูปข้างล่างนี่คือ เหล็ก H-Beam ขนาดต่างๆ ถ้าเราใช้งานแบบเป็นเส้นปกติๆ บางครั้งอาจจะเกิดการผิดพลาดยืดเส้น หรือปรับขนาดไปโดยไม่รู้ตัวได้ ผมเลยจะทำเป็น Block เพื่อป้องกันการแก้ไขโดยไม่ได้ตั้งใจ และเพื่อให้ก็อปปี้ง่ายขึ้น และอีกข้อที่โดดเด่นของ Block คือ เวลาแก้ไขบล็อก มันจะแก้ไขหมดทั้งไฟล์เลยครับ
2. คำสั่งที่ใช้คือ B (BLOCK)
3. หลังจากกดคำสั่งแล้ว ก็จะขึ้นหน้าต่างนี้ครับ
ในช่อง Name ก็ให้ใส่ชื่อบล็อกตามใจเลยครับ
Base point ให้เลือกที่ Pick point เพื่อเลือกจุด Base point ของบล็อกครับ
4. พอเลือก Base point เสร็จแล้ว
Objects ให้เลือกที่ Select objects เพื่อเลือกชิ้นงานที่ต้องการ
พอเราเลือกชิ้นงานที่ต้องการเสร็จแล้ว มันจะโชว์รูปเล็กๆข้างหลังชื่อ (เหล็ก H-Beam สีเชียวๆนั่นไง เห็นมั้ยครับ) เสร็จแล้วก็กด OK โลด
5. สร้าง Block H-400 เสร็จแล้ว
6. ผมก็ทำ Block ที่เหลือจนครบครับ เป็นอันจบครับ การทำ Block normal ครับ (บล็อก จะมีจุด Base point แค่จุดเดียว)
7. แต่ถ้าเราไม่อยากได้บล็อกหลายๆอัน เพราะเวลาก็อปปี้ไปใช้งาน มันจะดูรกไฟล์ หรือว่ากลัวก็อปปี้ไม่ครบ ผมก็เลยจะแนะนำบล็อกแบบรวบอันเดียวให้ครับ ผมขอเรียกมันว่า Block choice ละกันนะครับ
ขั้นตอนแรกก็คือ ทำ Block ขึ้นมาปกติเลยครับ
จากรูป H-Beam ข้างต้น เราจะทำบล็อกทีเดียวใส่ H-Beam ทั้ง 5 อันเข้าไปในบล็อกเลยก็ได้ครับเพื่อความรวดเร็ว แต่ที่ผมแนะนำนี้ ผมทำบล็อกแค่ 1 อัน แล้วจะทำการเพิ่ม H-Beam อีก 4 อันเข้าไปทีหลังครับ เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับการทำบล็อกครับ
จากรูปด้านล่าง ผมทำบล็อก H-400 เรียบร้อยแล้ว 1 อันนะครับ ส่วนอีก 4 อัน ยังเป็นเส้นปกติ
8. กดคลิกขวาที่บล็อก เลือก Edit Block In-place มันจะเป็นการแก้ขไบล็อกในไฟล์งานเลย ไม่เข้าไปในโซนแก้บล็อกอย่างเดียว
9. มันจะโชว์ให้ดูว่า ในบล็อกนี้ มีกี่บล็อกซ้อนอยู่ ซึ่งในตัวอย่างนี้ ก็มีแค่ 1 บล็อกล่ะครับ กด OK ต่อไป
10. พอกด ok แล้ว ส่วนที่อยู่ในบล็อก มันจะเด่นขึ้นมาทันที เอ๊ะ ต้องบอกว่าส่วนที่อยู่นอกบล็อก มันจะมืดลงไปถึงจะถูกสินะครับ
11. คลิกที่เมนู Home แล้วคำสั่งแก้ไขบล็อกจะอยู่ท้ายสุด
ให้เลือก Add to Working Set เพื่อเพิ่มชิ้นงานเข้ามาในบล็อกครับ
12. หลังจากเลือกชิ้นงานเข้ามาในบล็อกแล้ว สีของชิ้นงานที่เลือกเข้ามา มันก็จะเด่นขึ้นมาครับ
พอเลือกชิ้นงานจนพอใจแล้ว ก็ให้กด Save Changes เลยครับ
13. คลิกที่ชิ้นงานดู จะเห็นว่ามันเป็นบล็อกเดียวกันแล้ว
14. คลิกขวาที่บล็อก เลือก Block Editor เพื่อเข้าไปสู่โซนการแก้ไขบล็อกอย่างเดียว ไม่มีส่วนอื่นของไฟล์งานมาเกี่ยวข้อง
15. ถึงตรงนี้ต้องบอกว่า การทำบล็อกต้องแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนนะครับ ซึ่งตัวอย่างของผมคือ การย้าย H-Beam ทั้งหมดมาอยู่รวมกันก่อน แล้วค่อยสร้าง choice นะครับ บางคนอาจจะค่อยๆย้ายทีละอันก็ได้ แล้วแต่ความถนัดจริงๆครับ
16. พอจัดการกับชิ้นงานเสร็จแล้ว ให้เลือกที่ Visibility
ไปจิ้มตรงไหนก็ได้ แล้วแต่ความชอบเลย แต่ส่วนมาจะจิ้มกันที่ Base point ของบล็อก หรือไม่ก็ใกล้ๆบล็อก
17. พอจิ้มไปแล้ว มันจะขึ้นเครื่องหมาย Visibility ขึ้นมา
ให้คลิกที่ Block Editor เลือกที่ Visibility States
18. มันจะขึ้นหน้าต่างทางขวามือขึ้นมา ซึ่งในรูป ผมแก้ไขชื่อเริ่มต้นของมันเป็น H-400 ไปเรียบร้อยแล้ว
แล้วผมก็ทำการสร้างชื่อใหม่ โดยการกด New... มันก็จะสร้างชื่อใหม่ที่หน้าต่างทางซ้ายมือ
19. ผมเลือกที่จะสร้างชื่อทีเดียวหมดเลยนะครับ ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนอีกล่ะครับ บางคนอาจจะสร้างทีละชื่อ แล้วแก้ไขไปด้วยก็ได้
20. หลังจากสร้างชื่อเสร็จแล้ว ก็กด ok ออกมา
สังเกตที่ชื่อ H-400 นะครับ ตอนนี้เราจะเห็นเหล็ก H-Beam ครบทุกอันอยู่นะครับ
ตอนนี้เราจะทำการปิดชิ้นงานที่ไม่ต้องการครับ ให้เลือกที่ ไอค่อน Make Invisible ครับ
แล้วทำการเลือกชิ้นงานที่จะปิด เสร็จแล้วก็คลิกขวาเป็นอันจบการปิดครับ
21. นี่คือหน้าตาของ H-400 หลังจากปิดชิ้นงานอื่นจนเหลือชิ้นงานที่ต้องการแล้ว
22. แล้วก็ไปเลือก choice อื่นที่ H-350, H-300.... แล้วทำการเลือกปิดชิ้นงานตามต้องการจนเสร็จครับ (อาจจะ งงๆ เพราะผมไม่รู้จะอธิบายยังไงดี ต้องลองทำดูครับ ถึงจะเข้าใจ)
23. พอเสร็จทุกอย่างแล้ว ก็เลือกที่ Close Block Editor ครับ (จริงๆ ไม่ต้องบอกก็ได้มั้งเนี่ย ฮ่าๆๆ)
24. เรียบร้อยครับ ทีนี้เราก็ได้ Block 1 อัน ที่มีเหล็กหลายขนาดซ่อนอยู่แล้วครับ เวลาก็อปปี้ไปใช้งานที่ไหน ก็จะไม่รก และไม่ก็อปปี้พลาดแน่นอนครับ
Block ทั้ง 2 แบบมีความสามารถที่แตกต่างกันอยู่พอสมควรเลยนะครับ
โดยเฉพาะความสามารถของ Block normal ที่สามารถแก้ไขในไฟล์งานได้ (Edit Block In-place) ซึ่งมันจะมีประโยชน์มากในการแก้ไขที่ต้องการเห็นชิ้นงานอื่นๆในไฟล์ ซึ่ง Block choice นั้นทำไม่ได้ และ Block normal ยังสามารถแก้ไขทีเดียว เปลี่ยนทั้งไฟล์ได้อีกด้วย
แต่ในอีกทางหนึ่ง ผมคิดว่า Block choice เหมาะกับพวก Detail ที่ต้องการเปลี่ยนขนาดแบบรวดเร็ว และมีขนาดที่ถูกต้อง ไม่ต้องมาเขียนชิ้นงานขึ้นใหม่นะครับ
เอาเป็นว่า เลือกใช้ให้เหมาะสม แล้วงานจะง่ายขึ้นครับ